• เก่งศัพท์ Topik ใน 40วัน

    >มาเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในการสอบ Topik ระดับ 1 และ 2 หากเรียนรู้และจำได้หมดแล้ว รับรองว่าการสอบผ่าน Topik จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

  • Oversea Korean

    เรียนรู้ภาษาเกาหลีเบื้องต้น ตั้งแต่สระ พยัญชนะ การผสมคำ การสร้างประโยค ไวยากรณ์ ไปจนการสนทนาในสถานการร์ประจำวัน

  • Korean Grammar

    เรียนรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์ในภาษาเกาหลีตั้งแต่พื้นฐาน

Showing posts with label Verbs. Show all posts
Showing posts with label Verbs. Show all posts

การผันคำกริยา 2: การผันคำกริยาแบบไม่เป็นไปตามกฎ


การผันคำกริยาแบบไม่เป็นไปตามกฎ

1. คำกริยาที่สะกดด้วย  ㅅ
    เมื่อพยางค์ถัดไปเริ่มด้วย ㅇ จะต้องตัดตัวสะ ㅅ ออกไป ดังตัวอย่าง

แต่มีคำกริยาบางคำที่มีข้อยกเว้น ไม่ต้องตัด ㅅ ออกไป คือ 벗다 (ถอด ), 웃다 (หัวเราะ), 씻다 (ล้าง), 빗다 (หวี) 



2. คำกริยาที่สะกดด้วย  ㅂ
    คำกริยาที่สะกดด้วย ㅂ จะต้องตัด ㅂ ออกและเติม  우 หรือ 오 หากตามด้วย 아/어요 ดังตัวอย่าง


แต่มีคำกริยาบางคำที่มีข้อยกเว้น ไม่ต้องตัด ㅂ ออกไป คือ 잡다 (จับ), 뽑다 (ถอน), 씹다 (เคี้ยว), 입다 (สวมใส่)


3. คำกริยาที่สะกดด้วย  ㄷ
    คำกริยาที่สะกดด้วย ㄷ จะต้องเปลี่ยน ㄷ เป็น   เมื่อพยางค์ถัดไปเริ่มด้วย ㅇ ดังตัวอย่าง

คำกริยาที่สะกดด้วย ㄷ บางคำก็มีข้อยกเว้น ไม่ต้องเปลี่ยน ㄷ เป็น ㄹ นั่นก็คือ 받다 (รับ), 닫다 (ปิด), 얻다 (ได้รับ), 믿다 (เชื่อ)  


4. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย 르
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย 르 จะต้องเติม ㄹ เป็นตัวสะกดให้พยางค์หน้า และตัด สระ ㅡ ออก จากนั้นเติมสระ ㅓ หรือ ㅏ ต่อท้าย

จะเติม ㅓ หรือ ㅏนั้น ให้ดูสระที่พยางค์หน้าว่าเป็นสระใด หากพยางค์หน้าเป็นสระ  ㅗ,ㅏ ให้เติม ㅏ หากเป็นสระอื่นๆ ให้เติม ㅓ ดังตัวอย่าง

จบแล้วค่ะ สำหรับคำกริยาที่ไม่เปลี่ยนไปตามกฎ จำเป็นจะต้องเรียนรู้และจำให้ดีว่า คำกริยาใดที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปไปตามกฎ

แล้วพบกันใหม่บล็อกหน้าค่ะ




Share:

การผันคำกริยา 1 - การผันคำกริยาแบบปกติ


1. การผันคำกริยาคืออะไร?

คำกริยาภาษาเกาหลีทั้งหมดลงท้ายด้วย - 다 เช่น 가다 (ไป), 적다 (เขียน), และ 살다(มีชีวิตอยู่,อาศัยอยู่) คำที่นำหน้า - 다 เช่น 가, 먹,และ 살  เราเรียกว่ารากศัพท์คำกริยา
ซึ่งรากศัพท์เหล่านี้จะต้องนำมาเปลี่ยนรูปตามความหมายที่แสดงออกของกาลเวลาและระดับความสุภาพ

2. กริยาปกติและกริยาที่ไม่ปกติ
คำกริยาส่วนใหญ่จะเปลี่ยนรูปไปตามปกติ แต่ว่ายังมีคำกริยาที่มีข้อยกเว้น จะต้องมีการเปลี่ยนรูปที่แตกต่างออกไป จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับคำกริยาเหล่านี้ เช่น คำกริยาที่สะกดด้วย ㄹตัวอย่างเช่น 살다 (มีชีวิตอยู่), และ 돌다 (กลับ). คำเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปตามกฎพื้นฐานแต่ว่าในบางครั้ง จะผันแตกต่างจากคำกริยาปกติอื่นๆ

3. รูปแบบการผันคำกริยาปกติ

3.1 คำกริยา  + คำลงท้าย -자, -고, -거나, -지만, -기, -지, และ -겠 สามารถเติมคำต่อท้ายเหล่านี้ต่อท้ายคำกริยาได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องคำนึงว่าคำกริยานั้นสะกดด้วยพยัญชนะใด

ตัวอย่าง:
(-자) = 가다 + 자→가자 (ไปกันเถอะ)
(-자) = 적다 + 자→적자 (เขียนกันเถอะ)
(-자) = 살다 + 자→살자 (อยู่ด้วยกันเถอะ)
(-고) = 가다 + 고→가고 (ไป แล้วก็..)
 (-고) = 적다 + 고→적고 (เขียน แล้วก็..)
 (-고) = 살다 + 고→살고 (อาศัยอยู่ แล้วก็..)

3.2 คำกริยาที่มีตัวสะกด ㄹ + ต่อท้ายด้วย -니?  -는데, and -는 สามารถเติมท้ายคำกริยา แต่ทว่า สิ่งที่สำคัญ คำกริยาที่สะกดด้วย ㄹ จะต้องตัด ㄹ ทิ้ง

ตัวอย่าง:
(-니?)
① 가다 + 니? → 가니?
    적다 + 니? → 적니?
② 살다 + 니? → 사니?

(-는데)
① 가다 + 는데 → 가는데
    적다 + 는데 → 적는데
② 살다 + 는데 → 사는데

 3.3 คำกริยา  +  คำลงท้าย -면/-으면, -려고/-으려고, -며/-으
며, และ -ㅁ/-음
ซึ่งการผันจะขึ้นอยู่กับสระและพยัญชนะตัวสุดท้ายของกริยา ถ้าคำกริยามีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ควรจะเติม -으 ก่อนคำลงท้ายเหล่านี้
ข้อควรจำสำหรับคำกริยาที่สะกดด้วย  ㄹ และใช้ไวยากรณ์เหล่านี้ต่อท้าย ไม่ต้องเติม -으 และไม่จำเป็นจะต้องตัดตัวสะกด ㄹ ออกไป

ตัวอย่าง:
(-면/-으면)
① 가다 + 면 → 가면 (ถ้าไป)
② 살다 + 면 → 살면 (ถ้าอยู่)
③ 적다 + 으면 → 적으면 (ถ้าเขียน)

(-려고/-으려고)
① 가다 + 려고 → 가려고 (ตั้งใจจะไป)
② 살다 + 려고 → 살려고 (ตั้งใจจะอยู่)
③ 적다 + 으려고 → 적으려고 (ตั้งใจจะเขียน)

3.4 คำกริยาที่เติมคำลงท้ายด้วย (-으-/ -느-/ -스-) การผันคำกริยาในกลุ่มนี้จะคล้ายๆ กับข้อที่แล้ว แต่ทว่าคำกริยาที่มีตัวสะกด ㄹ จะต้องตัดตัวสะกด ㄹ ออก และเติมด้วยคำลงท้ายเหล่านี้
 -세요 / -으세요, -ㄴ다 / -는다, -ㄴ / -은, -ㄹ / -을, -니까 / -으니까, -ㅂ니
다 / -습니다, -ㅂ니까? / -습니까? และ -ㅂ시다 / -읍시다

ตัวอย่าง:
(-세요/-으세요)
① 가다 + 세요 → 가세요 (กรุณาไป)
② 살다 + ㄹ 세요 → 사세요 (กรุณาอยู่)
③ 적다 + 으세요 → 적으세요 (กรุณาเขียน)

(-ㄴ다/-는다)
① 가다 + ㄴ다 → 간다 (ฉันไป)
② 살다 + ㄴ다 → 산다 (ฉันอยู่)
③ 적다 + 는다 → 적는다 (ฉันเขียน)

(-ㅂ니다/-습니다)
① 가다 + ㅂ니다 → 갑니다 (ฉันไป)
② 살다 + ㅂ니다 → 삽니다 (ฉันอยู่)
③ 적다 + 습니다 → 적습니다 (ฉันเขียน)

3.5 คำกริยา + คำต่อท้าย 아/어/여
คำกริยาในรูปแบบนี้ จะตามด้วย -아요/-어요/-여요, -아/-어/-여, -아라/-어
라/-여라, -았어요/-었어요/-였어요, และ -아서/-어서/-여서.
คำเหล่านี้เป็นคำต่อท้ายคำกริยาแบบพื้นฐานที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน การผันคำกริยาในรูปแบบนี้จะแบ่งตามสระตัวสุดท้าย
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ㅗ,ㅏ จะต่อท้ายด้วย 아요,아라, 아,았어요,아서
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ㅓ,ㅡ ,ㅜ,ㅣ ..และอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ㅗ,ㅏ จะต่อท้ายด้วย 어요,어라, 아,었어요,어서
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย  하다  จะต่อท้ายด้วย 여요, (하다 + 여요 ----> 해요)

 ตัวอย่าง:
(-아요 /-어요 /-여요 ) <-----------ปัจจุบัน
① 가다 + 아요 → 가요 (ฉันไป)
     오다 + 아요 → 와요 (ฉันมา)
     살다 + 아요 → 살아요 (ฉันอยู่)
② 서다 + 어요 → 서요 (ฉันยืน)
③ 공부하다 + 여요 → 공부해요 (ฉันเรียน)

(-았어요/-었어요/-였어요) <-----------อดีต
① 가다 + 았어요 → 갔어요 (ไปแล้ว)
     오다 + 았어요 → 왔어요 (มาแล้ว)
     살다 + 았어요 → 살았어요 (อาศัยอยู่แล้ว)
② 서다 + 었어요 → 섰어요 (ยืนแล้ว)
③ 공부하다 + 였어요 → 공부했어요 (เรียนแล้ว)

จากตัวอย่าง อาจจะพบว่าการผันกริยาอาจดูแปลกๆ เช่น
가다 +아요 กลายเป็น 가요ทำไมไม่ใช่ 가아요
오다 + 아요 กลายเป็น 와요 ทำไมไม่ใช่ 오아요
서다 + 어요 กลายเป็น 서요 ทำไมไม่ใช่ 서어요.

นี่เป็นเพราะกฎในการรวมสระในภาษาเกาหลีเมื่อนำมาใช้ร่วมกับการผันคำกริยา ดังตารางนี้


อาจจะดูยุ่งยากน่าปวดหัวสำหรับการผันคำกริยาในภาษาเกาหลี แต่มันเป็นกฎที่จำเป็นต้องรู้ในการเรียนภาษาเกาหลี เพราะฉนั้นจึงควรฝึกฝนและทำความเข้าใจ จะช่วยให้การเรียนไวยากรณ์ในภาษาเกาหลีง่ายขึ้น

ในบล็อกหน้าเราจะมาต่อด้วยคำกริยาที่ผันแบบไม่เป็นไปตามกฎกันนะคะ สงสัยตรงไหนทิ้งข้อความไว้ในบล็อกหรือในเพจได้เลยค่ะ

แล้วพบกันใหม่บล็อกหน้าคร่า


Share:

Facebook comment

อยากสมัครบัตรกดเงินสด คลิกเลย!!!

Popular Posts


Facebook Like